ผลงานวิจัย/หนังสือ/ฝึกอบรม/ให้คำปรึกษา

Law Clinic

คณะนิติศาสตร์ และสถาบันเอพาร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายด้านอื่นๆ อาทิเช่น กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ และอื่นๆ โดยทีมอาจารย์ผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน เพื่อให้บริการคำปรึกษากฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการรับคำปรึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

รับบริการให้คำปรึกษา Click

ติดต่อ

Phone : 02-697-6805

ผลงานวิจัยของคณาจารย์

โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

รายนามผู้ว่าจ้าง บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

เนื่องจากพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็น หรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม บริษัทต่างๆ มีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงาน ตลอดจนบุคคลอื่นที่บริษัทได้เก็บข้อมูลไว้

การดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ต้องมีความโปร่งใสในการดูแลและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีการธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดี (Data Governance) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลให้ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลในอนาคต การปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ และดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นธรรม การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างโปร่งใส การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการ และการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น

โครงการเตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการบังคับใช้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

รายนามผู้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการอนุญาตให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติในการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น และอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายคุ้มครองข้อมูล โดยมีฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ชอบธรรม (Lawful Basis of Processing) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนถือเป็นบริการสาธารณะที่รัฐได้ให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษาแทนรัฐ (ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง คู่มือการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2558) เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของมหาวิทยาลัย (Legitimate Interests) หรือประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลภายนอก หรือประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยที่ไม่ทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลนั้นลดน้อยลง การปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของมหาวิทยาลัย หรือเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

Cross-Border Data Privacy Regulations in ASEAN: Overcoming Institutional Challenges

รายนามผู้ว่าจ้าง The University of the Thai Chamber of Commerce

Organizations in ASEAN now rely on data to be transferred freely to provide digital products and services across borders. Nevertheless, free flow of cross-border data increases risks of privacy infringement. There are existing ASEAN frameworks that touch upon cross-border data transfers, but most of them are non-binding instruments and their approaches are fragmented. The study conducts a comparison between ASEAN frameworks and other international and regional frameworks to recommend areas for improvement. The study recommends that ASEAN frameworks can be improved in key areas such as institutional oversight and interoperability with other international frameworks.

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง นโยบายการกำหนดสิทธิในการส่งและรับสัญญาณและการเข้าตลาดของดาวเทียมต่างชาติ (Landing Rights and Market Access Policy)

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การเปิดให้ดาวเทียมต่างชาติสามารถเข้ามาแข่งขันให้บริการในประเทศจะส่งผลให้เกิดการลดการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคในประเทศมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น อัตราค่าบริการลดลง และได้รับคุณภาพของบริการที่ดีขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติ การอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการในประเทศ (Landing Rights) เพื่อให้มีการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติ และไม่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศเสียเปรียบ การศึกษาวิจัยนโยบายการกำหนดสิทธิในการส่งและรับสัญญาณและการเข้าตลาดของดาวเทียมต่างชาติ (Landing Rights and Market Access Policy) เพื่อกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอสิทธิในการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติเพื่อให้บริการในประเทศไทย จะช่วยลดปัญหาจากความไม่ชัดเจนในกฎระเบียบเกี่ยวกับการเลือกใช้บริการดาวเทียมต่างชาติของผู้ใช้บริการในไทย เปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการให้บริการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมแต่ไม่มีโครงข่ายสามารถเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติเพื่อเพิ่มการแข่งขันในประเทศ มีกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลการแพร่สัญญาณของดาวเทียมต่างชาติที่เหมาะสม เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในประเทศไทย และมีมาตรฐานการให้บริการที่สอดคล้องกับหลักสากลโดยการรวบรวมและศึกษาวิเคราะห์สภาพการแข่งขันของธุรกิจดาวเทียมวงโครจรค้างฟ้า (Geo-stationary Orbit) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ประกอบการไทยในกรณีที่ประเทศไทยให้สิทธิการส่งและรับสัญญาณเข้ามาในประเทศโดยดาวเทียมต่างชาติ รวบรวมและศึกษาวิเคราะห์นโยบาย กฎเกณฑ์และระเบียบในปัจจุบันของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการกำหนดสิทธิในการส่งและรับสัญญาณและการเข้าตลาดของดาวเทียมต่างชาติ (Landing Rights and Market Access Policy) รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายการกำหนดสิทธิในการส่งและรับสัญญาณและการเข้าตลาดของดาวเทียมต่างชาติ (Landing Rights and Market Access Policy) ที่สอดคล้องกับพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและผู้ประกอบการชาวไทยโดยให้คำนึงถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยีและการให้บริการดาวเทียมในรูปแบบอื่น

โครงการวิจัยการศึกษากฎหมายเพื่อควบคุมการพนันแฝงจากการส่งเสริมการขายโดยการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจ

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานฉลากกินแบ่งรัฐบาล

การควบคุมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจ หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดปัญหาในการที่ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการใช้กิจกรรมเสี่ยงโชคหรือชิงโชคมอมเมาผู้บริโภค จนละเลยหน้าที่ในการมุ่งพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเพื่อครองใจผู้บริโภค และทำลายระบบการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ส่วนตัวผู้บริโภคอาจไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังเดินเข้าสู่การเล่นพนันที่แฝงมากับการส่งเสริมการขายด้วยการชิงโชคหรือเสี่ยงโชค จึงต้องมีการศึกษากฎหมายเพื่อวางหลักเกณฑ์ในการควบคุมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจอย่างเหมาะสม ในประเทศไทยได้พิจารณาถึงความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนและสังคม จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการออกกฎหมายเพื่อมากำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวอย่างเหมาะสม ทันสมัย และเป็นสากล โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นร่างกฎหมายและนำเสนอต่อหน่วยงานต่างๆ และสาธารณะชน ให้นำไปพิจารณาและใช้ประโยชน์ในการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป อันจะเป็นผลทำให้ลดและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพนันแฝงในรูปแบบการส่งเสริมการขายด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจ การส่งเสริมการศึกษาและ การวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการพนัน สาเหตุและผลกระทบจากการพนัน รวมทั้งเป็นมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพนัน เพื่อนำเสนอร่างกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการควบคุมการส่งเสริมการขายโดยการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจอย่างเหมาะสม ทันสมัย และเป็นสากล แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปพิจารณาและใช้ประโยชน์ในการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและตื่นตัวต่อการพนันแฝงที่เข้ามาในรูปแบบการส่งเสริมการขายโดยการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของผู้ประกอบธุรกิจ

โครงการสัมมนาระดับนานาชาติ เรื่อง การคุ้มครองผู้เยาว์จากภัยออนไลน์

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ปัจจุบันการใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมโลกรวมถึงประเทศไทย พบว่าผู้เยาว์ที่เป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากผู้เยาว์เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวทางสังคม จึงมีการนำผู้เยาว์ไปแสวงหาประโยชน์ได้โดยง่าย โดยใช้อำนาจข่มขู่ให้ผู้เยาว์ให้กระทำการใดๆ ที่ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ภัยออนไลน์ต่อผู้เยาว์จึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจและเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนในการออกมาตรการคุ้มครองผู้เยาว์จากภัยออนไลน์ ในระดับสากลได้มีความคิดริเริ่มในการออกกฎเกณฑ์มากำกับดูแลเพื่อลดการละเมิดทางเพศของผู้เยาว์ออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสร้างความตระหนักและรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอื่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การมีมาตรการคุ้มครองผู้เยาว์จากภัยออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เยาว์ โครงการสัมมนาระดับนานาชาติ เรื่อง การคุ้มครองผู้เยาว์จากภัยออนไลน์ เพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้เยาว์จากภัยออนไลน์ของประเทศ

โครงการ การศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาทบทวนกฎหมายการบังคับคดีแพ่งในภูมิภาคอาเซียน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชน การลงทุน สินค้าและบริการ และเงินทุนอย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้สามารถรับมือกับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นประชาคมอาเซียน มีการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างกัน ปรับปรุงพัฒนาระบบการบังคับแพ่งให้ทันสมัย ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากช่องว่างด้านกฎหมายการบังคับคดีที่ต้องพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อจะได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินภารกิจและบทบาทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การอำนวยประโยชน์ให้กับการทำธุรกิจ ลดความเหลื่อมล้ำแก่ผู้ด้อยโอกาส กฎหมายสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและเรื่องเงินลงทุน เพราะส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมีปัญหาจากเงินกู้นอกระบบ เพื่อศึกษาทบทวนกฎหมายการบังคับคดีแพ่งในภูมิภาคอาเซียน จะเป็นการบังคับคดีแพ่งของกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายด้านการบังคับคดีแพ่งของไทยและประเทศในประชาคมอาเซียน รวมถึงช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีแพ่งในประชาคมอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน นำไปสู่การอำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชน โดยคำนึงถึงความรวดเร็ว ทันสมัย และรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายด้านการบังคับคดีแพ่งของไทยและประเทศในประชาคมอาเซียน การจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีแพ่งในประชาคมอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน อันจะนำไปสู่การอำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชน โดยคำนึงถึงความรวดเร็ว ทันสมัย และรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

โครงการจัดทำแนวทางการป้องกันและส่งเสริมการตระหนักรู้ของเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์ (Developing guideline and promoting awareness on child and youth online risk and protection)

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่าง จริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลง และก้าวเข้าสู่ยุคสื่อหลอมรวม(Convergent Media) อย่างรวดเร็วสิ่งเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการสื่อสารของคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ซึ่งใช้เวลาอยู่กับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น จนขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมถึงมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียน สภาพสังคม เสียเวลา เสียสุขภาพ และขาดสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง และหน้าที่การงานสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบจากการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชนจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่มีการหารือในเวทีสหประชาชาติ ยกระดับการรับรู้ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เน้นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยประเทศไทยได้ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและกรอบความร่วมมือที่ชัดเจนสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมุ่งเน้นหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการ บุคคลรอบด้าน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งตัวเด็กและเยาวชน ให้มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งสามารถปกป้องและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมี คุณภาพ สามารถใช้สื่อดิจิทัลอย่างฉลาดและมีความสร้างสรรค์ มีความเหมาะสม รวมถึงรู้เท่าทันภัย รู้ทันการถูกล่อลวง และรู้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และบุคคลรอบข้ำง ยังนำมาซึ่งความสันติในสังคมเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากสื่อดิจิทัลในกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลประโยชน์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อเด็ก เยาวชนและ บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากสื่อดิจิทัล ในกลุ่มประเทศ

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันกับโลกสมัยใหม่ได้ โดยมุ่งส่งเสริมการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัลเพื่อรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งการนำดิจิทัลมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาล โดยที่มาตรการทางกฎหมายเป็นกลไกที่สำคัญกลไกหนึ่งที่จะขับเคลื่อนนโยบายรัฐเพื่อรองรับการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลจะได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกฎหมายอีกจำนวนมาก โดยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวทั้งในระดับสากลและระดับประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โครงการ การศึกษามาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อหารายการและผู้ผลิตสื่อโฆษณาผ่านช่องทางบริการ OTT

รายนามผู้ว่าจ้าง บริษัท ไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน โดยการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ให้บริการ OTT ในประเทศไทย มุ่งให้เกิดการผลักดันนโยบายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อหารายการ (Content Producers) และผู้ผลิตสื่อโฆษณา (Advertising Industry) ผ่านช่องทางบริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียง บริการผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Over the top และทำการศึกษาบริบทของการพัฒนาบริการ OTT ในภูมิภาคอาเซียน สถานการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิตเนื้อหารายการในประเทศไทย ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Digital TV) และผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลที่เผยแพร่ผ่านระบบเคเบิลและดาวเทียม ศึกษาแนวทางนโยบายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริการ OTT สถิติภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับมูลค่าการโฆษณา มูลค่าของรายการโทรทัศน์ดิจิตอล วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของการรับชมสื่อบันเทิง รวบรวมข้อมูลและความเห็นจากผู้ผลิตเนื้อหาหรือรายการ วิเคราะห์และคาดการณ์ผลที่อาจเกิดขึ้นหากผู้ให้บริการ OTT ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามการกํากับดูแล

โครงการจัดจ้าง ศึกษาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารของต่างประเทศ

รายนามผู้ว่าจ้าง สถาบันอนุญาโตตุลาการ

โครงการนี้ดำเนินการศึกษาฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการของภาครัฐในต่างประเทศที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคาร และการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านการเงินและการธนาคาร ตลอดจนข้อดี ข้อเสีย และวิเคราะห์ว่ามาตรการเหล่านั้นมีความเหมาะสมกับไทยอย่างไร และจัดทำข้อเสนอเรื่องทิศทางการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตรงจุด และสอดคล้องกับสภาพปัญหาของประเทศ ตลอดจนข้อเสนอเรื่องความจำเป็นของประเทศไทยในการพัฒนาหลักเกณฑ์การระงับข้อพิพาททางเลือกด้านการเงินและการธนาคาร

โครงการ “ความเห็นเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูประบบภาษีสรรพสามิตยาสูบ”

รายนามผู้ว่าจ้าง ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด

การนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การใช้ “ราคาขายปลีกแนะนำ” เป็นฐานภาษีเชิงมูลค่าของภาษีสรรพสามิต ยื่นอย่างเป็นทางการให้กับผู้กำหนดนโยบายหลัก เพื่อให้ได้มาซึ่งบทวิเคราะห์ การใช้ “ราคาขายปลีกแนะนำ” เป็นฐานภาษีเชิงมูลค่าของภาษีสรรพสามิต โดยเป็นบทความภายใต้ชื่อของผู้ดำเนินโครงการ และดำเนินการติดต่อกับสื่อมวลชนเพื่อให้ตีพิมพ์บทความดังกล่าว โดยทำการศึกษาลักษณะของระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในประเทศต่างๆ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบจากองค์กรระหว่างประเทศหรือสถาบันทางวิชาการชั้นนำต่างๆ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การบริโภคยาสูบภายในประเทศ และระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบของไทยในปัจจุบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวนโยบายระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยทำการรวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในประเทศต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการปฏิรูประบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในต่างประเทศที่อาจใช้เป็นแนวทางสำหรับประเทศไทยได้ นำเสนอความเห็นเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบจากองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศและสถาบันทางวิชาการชั้นนำ เพื่อให้เข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของระบบต่าง ๆ และนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับวางระบบภาษีสรรพสามิตยาสูบที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย โดยพิจารณาความเห็นขององค์กรระหว่างประเทศและกรณีศึกษาจากต่างประเทศเป็นแนวทาง

โครงการศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนและถ่ายลำของประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ เปรียบเทียบกับประเทศไทย

รายนามผู้ว่าจ้าง สมาคมเจ้าของเรือไทย

การศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวกับการผ่านแดนและการถ่ายลำที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมการขนส่งสินค้าถ่ายลำ (Transshipment) และกิจกรรมการขนสินค้าผ่านแดน (Transit) จำเป็นที่จะต้องพิจารณาแก้ไขเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันในตลาดการค้าโลก โดยการศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนและถ่ายลำของประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดี ที่ควรนำมาเป็นตัวอย่างในการปรับแก้ไขแนวทางปฏิบัติ และแก้ไขกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบเกี่ยวกับการผ่านแดนและการถ่ายลำ เนื่องด้วยประเทศดังกล่าวเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านนโยบาย ทางปฏิบัติ ระบบสารสนเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้า ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit ๑๙๙๘) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การปรับใช้แนวทางปฏิบัติและกฎหมาย กฎระเบียบที่ดีจากประเทศตัวอย่างให้เหมาะกับสภาพ และสถานะของประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพประเทศไทยให้มีความเป็นได้ที่จะเป็น Logistics Hub ในอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาแนวทางปฏิบัติ นโยบาย ระบบสารสนเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้าของประเทศเกาหลีใต้ที่มีความก้าวหน้าในด้านที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติที่ดีที่อำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้าสำหรับประเทศไทย ข้อเสนอเชิงกฎหมายและนโยบายเพื่อพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนและถ่ายลำเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อภาคเอกชนและภาครัฐ และเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Logistics Hub ได้อย่างสมบูรณ์

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “ การพัฒนากลไกเชิงสถาบันของประเทศไทยเพื่อรองรับพันธกรณีตามความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ”

รายนามผู้ว่าจ้าง สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่จำกัดเฉพาะการบริหารจัดการภายในของภาครัฐ ยังรวมไปถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (FTAs) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกซึ่งจะต้องมีการปรับกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว ความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (FTAs) เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การเจรจาความตกลงการค้าเสรี จึงไม่ได้จำกัดขอบเขตเฉพาะเรื่องการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน แต่ครอบคลุมถึงการจัดการเชิงสถาบัน (Institutional Framework) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงฯ การปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงการค้าเสรีของประเทศไทยมีการทำงานอย่างแยกส่วน ขาดการบูรณาการ ซึ่งบางกรณี ข้อบทของความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ (FTAs) มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน ดังนั้น การศึกษาโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อรองรับพันธกรณีตามความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจึงมีความจำเป็นในการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงการค้าเสรีที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกความตกลงฯ ที่มีมาตรฐานสูงอื่น เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเชิงสถาบันในการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและที่ประเทศไทยประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิก เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการบูรณาการวิธีการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในมิติสำคัญ อันเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศตลอดจนปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐในการพัฒนากลไกเชิงสถาบันเพื่อรองรับพันธกรณีตามความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

โครงการศึกษากฎหมายเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

A Legal Study to Enhance Cooperation on Goods in Transit between Thailand and Its Neighboring Countries in the face of ASEAN Integration

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

การวิจัยทำการเก็บข้อมูลที่จุดผ่านแดนที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาความร่วมมือของอาเซียนทางด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน ตลอดจนศึกษาแนวความคิด กฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศจีนในเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เพื่อความสมบูรณ์โดยศึกษากรอบความตกลงและความร่วมมือทางด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดนของสหภาพยุโรป เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการประสานกฎระเบียบและพิธีศุลกากรของประเทศสมาชิกรวมถึงแนวทางในการดำเนินงานของ United Nations Economic Commission for Europe (UNECE) ภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าผ่านแดนและพิธีการด้านศุลกากรของ World Customs Organization เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT) เป็นความตกลงเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีระบบการขนส่งผ่านแดนที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน และมีสาระสำคัญเพื่อประสานกฎระเบียบในการขนส่งผ่านแดนให้เป็นรูปแบบเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าผ่านแดน อาทิเช่น มาตรฐานสินค้า การตรวจสอบทางเทคนิค พิธีการทางศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องหลักประกันในรูปแบบเดียวกัน

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ด้วยประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสภาพปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายธุรกรรมกอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการทำให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายความมั่นคงปลิดภัยไซเบอร์ เป็นต้น ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาลว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไรต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยพร้อมทั้งเสนอร่างกฎหมาย

โครงการศึกษารูปแบบและแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบการกำกับดูแลการแข่งขันในยุคดิจิตอล

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การวิเคราะห์และสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับตัว รูปแบบ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ แนวโน้มของอุตสาหกรรม โครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างองค์กรของกลุ่มบริษัทในเครือของผู้รับใบอนุญาต การแข่งขัน รูปแบบความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ รูปแบบของสินค้าบริการ รายการส่งเสริมการขาย การซื้อขายและเปลี่ยนเนื้อหารายการ การผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในเนื้อหารายการที่ได้รับความสนใจ (Premium Content) ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประกอบกิจการอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าสู่โทรทัศน์ในยุคดิจิตอล เพื่อให้เห็นทิศทางของอุตสาหกรรมและเป็นข้อมูลประกอบการกำกับดุแลการแข่งขัน ตลอดจนการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขผลที่เกิดจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

โครงการประเมินสภาพการแข่งขันเพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรทัศน์ในยุคดิจิตอล

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในต่างประเทศตั้งแต่ระยะเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลจนกระทั่งปิดระบบอนาล็อก (Analog switch off) โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบต่อการแข่งขันทั้งในด้านการให้บริการ โครงสร้างตลาด พฤติกรรมอันอาจนำไปสู่การผูกขาดรายการบางประเภท การซื้อขายแลกเปลี่ยนรายการ (Content) ระหว่างผู้ให้บริการ การบริหารจัดการกล่องรับสัญญาณ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านราคาและอัตราค่าบริการที่อาจส่งผลต่อผู้บริโภค และศึกษากฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ ปัญหาและอุปสรรคในเชิงการแข่งขัน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการบังคับใช้กฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตเมื่อเข้าสู่ระบบโทรทัศน์ในยุคดิจิตอล เพื่อประเมินสภาพการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์ภายหลังให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์แนวทางกำกับดูแล ปัญหาอุปสรรค และนำเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม

การพัฒนากฎหมายสาขาธุรกิจการศึกษาไทยเพื่อรองรับการเปิดตลาดการค้าบริการอาเซียนภายใต้กรอบความตกลงใหม่หลังปี พ.ศ. 2558

รายนามผู้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โครงการนี้ดำเนินการศึกษาการเปิดตลาดบริการด้านการศึกษา ซึ่งมีความสำคัญต่อนโยบายด้านสังคมของประเทศเนื่องจากการเปิดตลาดจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ ทักษะ และวัฒนธรรม ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน (AFAS) การเปิดตลาดบริการด้านการศึกษาสะท้อนหลักของการเปิดตลาดบริการภายใต้ความตกลง GATS โดยมุ่งเน้นให้ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่เป็นข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด และข้อจำกัดในการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ อันอาจส่งผลให้ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุดมศึกษาที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการเปิดตลาดบริการ นอกจากนี้ การศึกษาการเปิดตลาดบริการด้านการศึกษาของยุโรปสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดตลาดบริการที่มีความลึกซึ้งและเสรีมากขึ้นในอนาคต

โครงการศึกษาประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

รายนามผู้ว่าจ้าง สมาคมการค้ายาสูบไทย

ประเทศไทยได้เข้าร่วมตกลงในกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก หรือ FCTC WHO : Framework Convention on Tobacco Control  ได้นำหลักการหลายประการมาเป็นแนวทางในการบัญญัติบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยมีวัตถุประสงค์ป้องกันเยาวชนให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ยากยิ่งขึ้นและต้องการลดจำนวนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบให้น้อยลง การบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกลับมีผลกระทบสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นหลายฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่คุ้มครองเอกชนในการประกอบกิจการ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหากฎหมายเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ วิเคราะห์ประเด็นกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ หลักธรรมาภิบาลรวมทั้งผลกระทบในเชิงพาณิชย์ นำเสนอความเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและประเด็นกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบตามกรอบของ FCTC จะมีประเด็นสำคัญ คือ การห้ามส่วนราชการรับการอุปถัมภ์จากธุรกิจยาสูบ กำหนดลักษณะของจุดขายปลีกยาสูบ กำหนดให้บริษัทบุหรี่ต้องจัดส่งรายงานประจำปีให้คณะกรรมการควบคุมยาสูบ กำหนดแนวทางการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบริษัทบุหรี่ กำหนดและเพิ่มโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายส่วนอื่นๆ เช่น ห้ามการโฆษณาทางอ้อม มาตรการคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการควบคุมยาสูบในทุกระดับ

โครงการศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและผลกระทบของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อประเทศไทย

รายนามผู้ว่าจ้าง บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด

เพื่อศึกษาหลักการสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลสากล และในกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้าของโลก ได้แก่ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาหลักกฎหมาย (Legal Doctrine) ความเห็น คำอธิบาย การศึกษาวิจัย และรายงานที่เป็นการแปลความ การปรับใช้กฎหมายและหลักเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนกรณีศึกษาจากคดี (Case Study) และแนวทางคำวินิจฉัยของศาล บทบัญญัติกฎหมาย เอกสารเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติของสหภาพยุโรป และของสหรัฐอเมริกา และทำการวิเคราะห์กฎหมายลำดับรอง และกฎระเบียบ ซึ่งเป็นการสร้างแนวบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองข้อมูล ทั้งยังทำการศึกษาแนวปฏิบัติ คำแนะนำ และอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นหลักการในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกำหนดประเด็นสำคัญเพื่อให้ทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยในมุมมองทางด้านนิติศาสตร์และทางด้านเศรษฐศาสตร์

โครงการการยอมรับและการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน

รายนามผู้ว่าจ้าง กรมบังคับคดี

เนื่องจากประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนได้เข้าร่วมกันวางเป้าหมายในการเป็นประชาคมอาเซียน ย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน ทรัพย์สินและแรงงานอย่างเสรีภายในภูมิภาค การติดต่อประกอบธุรกิจอาจเกิดกรณีพิพาทอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาเซียนมีความจำเป็นต้องมีกลไกในการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพและมีสเถียรภาพเพียงพอ มีผลบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมต่อคู่ความทุกฝ่าย เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศของแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและพาณิชย์ จึงวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบกฎหมายภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ รวมไปถึงวิวัฒนาการความร่วมมือทางกฎหมายในภูมิภาคอาเซียน วิธีการในการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นระบบ รวมถึงการศึกษาและเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ วิธีการในการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่มีการรวมตัวกันในลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก และนำเสนอแนวทางในการรับรองและการบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนตลอดจนข้อยกเว้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โครงการข้อมูลกฎหมายเรื่อง กฎหมายของประเทศบรูไนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคงของประเทศบรูไน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

การรวบรวมและพัฒนากฎหมายของประเทศสมาชิก ASEAN เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยและนักธุรกิจไทยในการทำการค้าขายและการขยายการลงทุนไปยังประเทศสมาชิก เพื่อจัดทำข้อมูลกฎหมายการค้าการลงทุนของประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อให้การจัดทำฐานข้อมูลกฎหมายอาเซียนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนครอบคลุมทั้งสามประชาคมภายใต้ประชาคมอาเซียน เพื่อจัดทำข้อสรุปและรวบรวมข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และประชาคมการเมืองและความมั่นคงของประเทศอาเซียน เพื่อรับทราบภาพรวมด้านนโยบายและพันธกรณีเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคงของประเทศบรูไน โดยจัดทำเป็นบทสรุปในลักษณะภาพรวมที่อ่านเข้าใจได้โดยง่ายเพื่อเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป ประกอบด้วยการอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น กฎหมายและคำพิพากษา (Primary Sources) รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลของทางราชการ (Secondary Sources) เพื่อรับทราบข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคง ของประเทศบรูไน

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องของประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีย่อมผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบของอาเซียนและกรอบความตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับกรอบปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ จะช่วยให้การพัฒนากฎหมายในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ทราบถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยผูกพันภายใต้กรอบความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกรอบความตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กฎหมายของต่างประเทศที่มีระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ และเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการแข่งขันทางการค้าจากระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย และเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ความสอดคล้องกับพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกรอบความตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องแบบครบวงจร อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในระดับระหว่างประเทศของประเทศไทย

โครงการวิจัย ปัญหาในกระบวนการบังคับคดีอันเกิดมาจากข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

รายนามผู้ว่าจ้าง กรมบังคับคดี

การศึกษาปัญหาในข้อกฎหมายและกระบวนการบังคับคดีอันเนื่องมาจากข้อตกลงยกเว้นการใช้บังคับตามมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยการศึกษาจะมุ้งเน้นไปที่บทบัญญัติมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติเรื่องเดียวกันกับกฎหมายต่างประเทศในกระบวนการบังคับคดีและแนวทางการปฏิบัติการดําเนินการชั้นบังคับคดีให้มีความถูกต้องและเหมาะสมในกระบวนการบังคับคดี นำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน ช่วยสร้างมาตรการเพื่อควบคุมการทำนิติกรรมสัญญาของประชาชนให้เป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และจะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในกระบวนการบังคับคดีกับทรัพย์จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Non-Party Benefits under the ASEAN Services Trade Agreement

รายนามผู้ว่าจ้าง The University of the Thai Chamber of Commerce

The ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) purports to be an ASEAN services trade agreement for closer and deeper integration than the GATS. AFAS Article VI spells out liberal rules of origin in services towards non- party service suppliers to gain access in Mode 3 (commercial presence) to ASEAN services markets. This may cause disadvantages for small countries in ASEAN to face rigor competition while opportunities may be gained from capacity development. The study reveals dichotomy in reception of services rules of origin between Thai services business sectors opting for stringent rules of origins, and the government in support of liberal rules of origin. This research suggests that a domestic adjustment of rules and regulations is needed to create a viable environment for foreign and domestic business.

อนุวัติการกฎหมายเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน: ศึกษากรณีการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและการลงทุน

รายนามผู้ว่าจ้าง สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)

การศึกษาพันธกรณีของประเทศไทยตามความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement in Services: AFAS) และความตกลงความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ และมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้สอดคล้องกับพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) ในเรื่องของหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ การโอนเงินออกนอกประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเวนคืนและการชดเชยการจ้างแรงงานผู้บริหารอาวุโส ความโปร่งใสในขั้นตอนการออกกฎหมาย และการระงับข้อพิพาท เพื่อการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทของประเทศไทยให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

โครงการพัฒนาและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในกิจการโทรทัศน์

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การรวมตัวกันของกลุ่มปประเทศอาเซียน เพื่อที่จะได้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกันมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุนที่เสรีขึ้น มีขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความเท่าเทียมนารพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก การขยายตลาดอาเซียนให้เติบโตขึ้น ส่งผลให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงรวมถึงประเทศไทยด้วย การเตรียมความพร้อมในเชิงยุทธศาสตร์และการกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์ในการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ ปรับปรุงหรือออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ตามทิศทางและแนวโน้มการแข่งขันในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการไทย และจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมของกิจการโทรทัศน์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยการประเมินผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรคในแง่ของการเปิดตลาดเสรีตามข้อผูกันสาขาโสตทัศน์

โครงการศึกษาการปฏิรูปโครงสร้างภาษีสรรพสามิต

รายนามผู้ว่าจ้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ตลอดจนความจำเป็นของการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและสภาพสังคม แต่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมมีความจำเป็นที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาใหม่ จึงมีการศึกษาและการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และเนื่องจากภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค และเพื่อทำการศึกษาค้นหาวัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทยการดำเนินการศึกษาประเด็นสําคัญเกี่ยวกับภาระภาษีสรรพสามิตของอุตสาหกรรมหลัก (ในภาพกว้าง) โดยเน้นที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมัน และรถยนต์ ศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในระดับสากล เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการ กำหนดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิรูปภาษีสรรพสามิตสำหรับประเทศไทยโดยวิเคราะห์ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตของประเทศไทย ในการศึกษามีการสำรวจความเห็นและรวบรวมเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรมต่อภาษีสรรพสามิต นำผลการศึกษาทั้งในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตของ ประเทศไทยตลอดจนข้อเสนอแนะของภาคอุตสาหกรรม มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้ข้อเสนอเชิง นโยบายหรือยกร่างกฎหมายภาษีสรรพสามิตตามหลักภาษีอากรที่ดี

โครงการข้อมูลกฎหมายของประเทศบรูไนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนของประเทศบรูไน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่มีรายรับหลักทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าทำข้อตกลงเกี่ยวกับการเปิดตลาดเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบรูไน ก่อให้เกิดพันธกรณีในการยกเลิกข้อจำกัดต่อนักลงทุนต่างชาติในหลายประการซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในภาคธุรกิจที่มีความสำคัญของประเทศบรูไนได้มากขึ้น การเข้าไปลงทุนจำเป็นต้องมีการศึกษาสภาพของกฎหมายของประเทศบรูไน ทั้งในเชิงระบบกฎหมาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน ข้อมูลระบบกฎหมายและระบบศาลโดยสังเขปของประเทศบรูไน ขั้นตอนในการเข้าไปประกอบธุรกิจ เงื่อนไขและข้อจำกัดต่อการประกอบธุรกิจ มาตรการส่งเสริมการลงทุน วัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจของประเทศ รวมถึงอุปสรรคในทางปฏิบัติ

โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และเจาะลึกอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับอนาคต (กฎหมายส่งเสริมการลงทุน)

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของไทยและของประเทศคู่แข่งในอาเซียน นอกจากนี้ยังได้ทำการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังและรับทราบความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้ได้รับทราบปัญหาและข้อเท็จจริงในการที่จะนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยและการรับฟังความคิดเห็นมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ นำเสนอร่างกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ณ ปัจจุบันเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

โครงการศึกษาผลกระทบและกำหนดแนวทางการกำกับการครองสิทธิข้ามสื่อ

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การศึกษามาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน รวมถึงการครองสิทธิข้ามสื่อ และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อป้องกันมิมีการครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะมีที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายหรือกระทำการอันเป็นการผูกขาดการประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน จึงทำการศึกษาในประเด็นด้านสื่อสารมวลชนและผลกระทบ เชิงสังคม เพื่อพิจารณาประกอบกับผลกระทบในเชิงธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะความเป็นเจ้าของกิจการของสื่อในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการกำกับดูแลการครองสิทธิข้ามสื่อในต่างประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำกับดูแลการครองสิทธิข้ามสื่อสำหรับประเทศไทย

โครงการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนแม่บทการเตรียมความพร้อมของกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2556-2558 และเพื่อกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการกำหนดแผนฏิบัติการที่กำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา และหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อบูรณาการการดำเนินยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรมโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนแม่บทการเตรียมความพร้อมของกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2556-2558 และเพื่อกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการกำหนดแผนฏิบัติการที่กำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา และหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อบูรณาการการดำเนินยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลการวิจัย ติดต่อ  [email protected]

หนังสือ

ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับหนังสือในการตีพิมพ์เผยแพร่ลงเว็บไซต์ของคณะฯ ของอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หนังสือ

จุลสาร

News & Events

PDPA Clinic by Law UTCC

คลินิกให้คำปรึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีคว…

Read more

UTCC LAW SCHOOL

คณะนิติศาสตร์จัดกิจกรรมปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมให้ก…

Read more