โครงการ UTCC CYBER LAW

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (Cyber Law)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต Master of Laws : LL.M.
หลักสูตรนี้มีรูปแบบการเรียนการสอนวิเคราะห์ในรูปแบบกฎหมาย ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดทางกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ เพื่อให้ตอบสนองกับโลกธุรกิจจริงที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน รวมถึงเป็นการปูพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

เรียนวันเสาร์และอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็นสองแผนคือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข. การค้นคว้าอิสระ

สนใจสมัครเรียนได้ที่ Click

ค่าใช้จ่ายหลักสูตร

แผน ก. มีวิทยานิพนธ์

แผน ก มีวิทยานิพนธ์        

สามารถผ่อนชำระรายเดือน 6,200 บาท/เดือน (24 เดือน)

*หมายเหตุ : เป็นส่วนลดสำหรับข้าราชการตำรวจเท่านั้น ราคานี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้สมัคร

 
* ตารางค่าใช้จ่ายนี้เป็นตารางราคาเต็มที่ยังไม่ได้หักส่วนลด
 

แผน ข ไม่มีวิทยานิพนธ์

แผน ข ไม่มีวิทยานิพนธ์         

สามารถผ่อนชำระรายเดือน 6,400 บาท/เดือน (24 เดือน)

*หมายเหตุ : เป็นส่วนลดสำหรับข้าราชการตำรวจเท่านั้น ราคานี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้สมัคร

 

* ตารางค่าใช้จ่ายนี้เป็นตารางราคาเต็มที่ยังไม่ได้หักส่วนลด
 

หลักสูตรและรายวิชา

รหัสวิชา

รายวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปจะมีรหัสนำหน้าชื่อวิชา ซึ่งมีความหมายดังนี้
LW หมายถึง คณะนิติศาสตร์
เลขหลักร้อย 5 หมายถึง วิชาในระดับบัณฑิตศึกษา
เลขหลักร้อย  คือ  ชั้นปีที่ ประกอบด้วย
01-09 หมายถึง หมวดวิชาปรับพื้นฐาน
12,23-24,29,37-38 หมายถึง หมวดวิชาแกน
21,25-53 หมายถึง หมวดวิชาเอกเลือก
22,91-92 หมายถึง หมวดวิชาพิเศษ
เลขหลักร้อย 6 หมายถึง รายวิชาที่ต้องทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ คือวิทยานิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ

วิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

LW501 ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ (Legal Research Methodology)

รายชื่อวิชา

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (ไม่มีหน่วยกิต)
ผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรต้องลงเรียนวิชาปรับพื้นฐานซึ่งคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาเป็นผู้กำหนด การเรียนวิชานี้ไม่นับหน่วยกิตและมีการวัดผลเป็น
S (Satisfactory) = ผ่านเกณฑ์
U (Unsatisfactory) = ไม่ผ่านเกณฑ์
จำนวนหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก.2 วิทยานืพนธ์
แผน ก.2 วิทยานิพนธ์                                           36 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาแกน                                                 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
วิชาเอกเลือก                                                         3 หน่วยกิต
3. วิทยานิพนธ์                                                    15 หน่วยกิต
แผน ข. ไม่มีวิทยานืพนธ์
แผน ข. ไม่มีวิทยานิพนธ์                                    36 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาแกน                                             18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ

วิชาเอกเลือก                                                    12 หน่วยกิต

3. การค้นคว้าอิสระ                                           6 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน

LW501

ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ (Legal Research Methodology)
วิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หลักและวิธีการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยมุ่งให้รู้ถึงขั้นตอนและกระบวนการวิธีการวิจัย อันประกอบด้วยการเขียนโครงการ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการวิเคราะห์ และการเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคานึงถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมมติฐานการวิจัย แนวความคิดทฤษฎีที่จะใช้ประกอบการวิจัย นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรกภาษาอังกฤษสาหรับนักกฎหมาย โดยการเรียนจากบทความกฎหมายภาษาอังกฤษของแต่ละสาขาวิชา
หมวดวิชาเฉพาะ  กลุ่มวิชาแกน

LW512

สัมมนากฎหมายธุรกิจยุคใหม่ (Seminar in Modern Business Law)

3(3-0-6)

การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาและปัญหาในทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจที่สาคัญ และทันต่อยุคสมัย เพื่อเสนอประเด็นปัญหาและแลกเปลี่ยนความเห็น

LW523

กฎหมายภาษีอากรขั้นสูง (Advanced Taxation Law)

3(3-0-6)

แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายว่าด้วยการภาษีอากรที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจและต่อการประกอบธุรกิจ รวมถึงปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีสรรพากรในกรณีต่างๆ รวมถึงการวางแผนภาษี

LW524

การระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ (Alternative Dispute Resolution in International trade and Investment)

3(3-0-6)

รูปแบบและวิธีการระงับข้อพิพาทในรูปแบบต่างๆ การประนีประนอมยอมความ การไกล่เกลี่ย อนุญาโตตุลาการ โดยศึกษาเกี่ยวกับ กฎหมาย และข้อตกลงในระดับระหว่างประเทศ เช่น New York Convention, UNCITRAL Model Law, ICSID Convention รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท ศึกษาทฤษฎี รูปแบบ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท

LW529

กฎหมายล้มละลายขั้นสูง (Advanced Bankruptcy Law)

3(3-0-6)

มาตรการล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการโดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เช่นหลักการสภาวะพักการชาระหนี้ การดาเนินการฟื้นฟูกิจการ การควบคุมกระบวนการฟื้นฟูกิจการ การสิ้นสุดของการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ

LW537

กฎหมายสัญญาและละเมิดขั้นสูง (Advanced Contract Law and Tort Law)

3(3-0-6)

แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายสัญญาว่าด้วยการเกิดของสัญญา การเกิดขึ้นของคาเสนอและคาสนอง และการบังคับใช้สัญญาในบริบทของธุรกิจในยุคปัจจุบัน รวมถึงหลักกฎหมายละเมิดและความรับผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรับผิดที่เกิดจากการละเมิดในเร่องความรับผิดอันเกิดจากการชารุดบกพร่องของสินค้าและความรับผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง ความรับผิดจาการละเมิดอันเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

LW538

กฎหมายองค์กรธุรกิจขั้นสูง (Advanced Business Organization Law)

3(3-0-6)

แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายว่าด้วยองค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจที่ถูกกากับดูแลในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การกากับดูแลบริษัทจดทะเบียน หลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการ การควบรวมกิจการข้ามชาติ โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างกิจการที่ทาการควบรวมและกิจการที่ถูกควบรวม ในเรื่องหุ้นส่วน อานาจบริหาร การจ้างงาน และภาษีในมิติของกฎหมายเศรษฐกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

นักศึกษาต้องลงเรียนวิชาแกน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยนักศึกษาทุกคนต้องลงเรียน

หมวดวิชาเอกเลือก

LW521

กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขั้นสูง (Advanced Securities and Securities Exchange Law)

3(3-0-6)

รูปแบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดาเนินงานและการกากับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

LW525

LW525 สัมมนากฎหมายภาษีนิติบุคคลและการวางแผนภาษี (Seminar in Corporate Tax Law and Tax Planning)

3(3-0-6)

การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาและปัญหาในทางปฏิบัติทางภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีต่าง รวมถึงประเด็นปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สาคัญในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจวงจรภาษีอากรทั้งระบบ ได้แก่ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สามารถนาช่องว่างและแง่มุมของภาษีมาวางแผนให้ประหยัดภาษี

LW526

กฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศขั้นสูง (Advanced International Tax Law)

3(3-0-6)

แนวคิดทฤษฎีและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ใช้สาหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ นโยบายและแนวทางปฏิบัติในทางภาษีสาหรับธุรกิจระหว่างประเทศ แนวคิดทฤษฎี และโครงสร้างกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ ระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้ระหว่างประเทศ และวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติทางภาษีของธุรกิจข้ามชาติ ตลอดจนศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาภาระภาษีซ้าซ้อนจากธุรกิจระหว่างประเทศ แนวทางการตีความในเงินได้แต่ละประเภทของอนุสัญญาภาษีซ้อนที่สาคัญแต่ละฉบับ จากคาวินิจฉัยของกรมสรรพากร และศาลฎีกา และภาระภาษีกรณีอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างประเทศ วิสาหกิจในเครือเดียวกัน และบรรษัทข้ามชาติ

LW527

กฎหมายภาษีอากรเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Tax Law for Real Estate Business)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติตลอดจนประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายภาษีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการวางแผนภาษีสาหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

LW528

กฎหมายภาษีศุลกากรและสรรพสามิตสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศขั้นสูง (Advanced Custom and Excise Tax Law for International Business)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีศุลกากรและสรรพสามิต การใช้กลไกทางภาษีตลอดจนปัญหาในทางปฏิบัติของกลไกทางภาษีสาหรับกิจการอุตสาหกรรมสาหรับผู้ประกอบการ การศึกษาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ

LW530

สัมมนากฎหมายการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Seminar on Reorganization Law)

3(3-0-6)

ลักษณะกิจการที่จาเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ รวมทั้งทางเลือกอื่นๆ การศึกษารูปแบบ และขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ การขายหุ้นของผู้ถือหุ้น รวมทั้งการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ

LW531

กฎหมายและเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการสาธารณูปโภค 1: การขนส่งและโลจิสติกส์ (Law and Economics of Public Utilities 1: Transportation and Logistics)

3(3-0-6)

การขนส่งและโลจิสติกส์ ข้อพิจารณาทางธุรกิจในการพัฒนาโครงการลงทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งการศึกษาหลักการทางกฎหมายและทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการลงทุนทางอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประเด็นกฎหมายในการจัดโครงสร้างการลงทุนและการจัดหาเงินสนับสนุนโครงการทั้งจากแหล่งเงินกู้และจากรัฐ สัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์

LW532

กฎหมายและเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการสาธารณูปโภค 2: เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Law and Economics of Public Utilities 2: Information and Communication Technology)

3(3-0-6)

ศึกษาทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม ข้อพิจารณาทางธุรกิจในการพัฒนาโครงการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งการศึกษาหลักการทางกฎหมายและทางการเงินที่เกี่ยวของกับการพัฒนาโครงการลงทุนทางอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประเด็นกฎหมายในการจัดโครงสร้างการลงทุนและการจัดหาเงินสนับสนุนโครงการทั้งจากแหล่งเงินกู้และจากรัฐสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาการจัดการการสื่อสารและโทรคมนาคม

LW533

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (Financial Consumer Protection Law)

3(3-0-6)

การให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การกากับดูแลของทางการและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและประเภทของการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงิน การจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงิน ปัญหาทางทฤษฎี และทางปฏิบัติในปัจจุบัน

LW534

กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering Law)

3(3-0-6)

แนวคิดของอาชญากรรมทางการเงิน ลักษณะและรูปแบบของการฟอกเงิน หลักกฎหมายและการกากับดูแลขององค์กรกากับดูแลที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรทางการเงินทั้งในประเทศและเชิงเปรียบเทียบต่างประเทศ หน้าที่ของสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภาระหน้าที่ของสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

LW548

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไซเบอร์ (Computer and Cyber Laws)

3(3-0-6)

ศึกษาทฤษฎี หลักกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับนิติกรรมทางแพ่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชยกรรมและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งในส่วนของประเทศไทย ต่างประเทศ และในระดับระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะที่เป็นวัตถุประสงค์ในการกากับดูแล ความท้าทายใหม่ๆที่อินเทอร์เน็ตนามาซึ่งการตีความใหม่หรือการพิจารณาใหม่ซึ่งเนื้อหาและวิธีการบังคับใช้กฎหมายและการกากับดูแลของภาครัฐในหลากหลายประเด็น รวมถึงแนวความคิดในกฎหมายว่าด้วยดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

LW549

กฎหมายสิ่งแวดล้อม (Environmental Law)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม

LW550

กฎหมายพาณิชยนาวี (Maritime Law)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับการค้า การเดินเรือ เช่น การรับขนของทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การคุ้มครองแรงงานทางทะเล ความปลอดภัยในการเดินเรือ

LW551

กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Data Privacy Law)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยและในระดับนานาชาติ อาทิ กฎหมาย General Data Protection Regulation ของสหภาพยุโรป และกรอบกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีศึกษาจากทั่วโลกในเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หรือคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

LW552

กฎหมายอากาศ (Air Law)

3(3-0-6)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความตกลงอันเกี่ยวกับการเดินอากาศ ความปลอดภัยในการเดินอากาศ ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเดินอากาศ

LW553

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศขั้นสูง (Advanced International Trade Law)

3(3-0-6)

กฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ข้อตกลงทางการค้า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การซื้อขายตามเอกสาร (Documentary sale) INCOTERMS การชาระเงินโดย L/C และการประกันภัย) การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign direct investment) การถ่ายทอดเทคโนโลยี การดาเนินธุรกิจระหว่างประเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ การประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งระหว่างประเทศ รวมถึงความตกลงเปิดเสรีการค้าที่สาคัญในปัจจุบันทั้งในกรอบพหุภาคี ภูมิภาค และทวิภาคี

  • สำหรับผู้เลือกเรียนแผน ก.2  วิทยานิพนธ์ ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต
  • สำหรับผู้เลือกเรียนแผน ข การค้นคว้าอิสระให้เลือกเรียน 12 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาพิเศษ

LW522

กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคารขั้นสูง

3(3-0-6)

แนวคิดและทฤษฎีกฎหมายการเงินและการธนาคาร การกากับดูแล การส่งเสริม การกากับดูแลและการดาเนินงานของสถาบันการเงิน กิจการที่สาคัญและการหาผลประโยชน์ของสถาบันการเงิน ผลกระทบของสภาวะการเงินระหว่างประเทศต่อการดาเนินงานของสถาบันการเงิน การปริวรรตเงินตราและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝาก รวมถึงประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการเงิน

LW591

กฎหมายอาญาขั้นสูง

3(3-0-6)

ทฤษฎี แนวคิด นโยบายในการกาหนดความรับผิดทางอาญา โดยคานึงถึงสภาพสังคมและพฤติกรรมซึ่งนานาประเทศถือว่าเป็นความผิด ที่มีปัจจัยแตกต่างกันออกไป ตลอดจนเหตุผลของการสร้างทฤษฎีความรับผิดทางอาญา แนวความคิดทั้งในปัจจุบันและอนาคต

LW592

กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจขั้นสูง

3(3-0-6)

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทาความผิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร ความผิดเกี่ยวกับการค้าและการพาณิชย์ หน่วยงานที่ทาหน้าที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจของไทยและต่างประเทศ

หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

LW600

วิทยานิพนธ์ (Thesis)

12(0-0-36)

นักศึกษาที่เลือกเรียนแผนการศึกษา ก ต้องจัดทาวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์ต้องอยู่ในขอบเขตสาขาวิชาที่จะศึกษาและได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้รับแต่งตั้ง

LW601

การศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study)

6(0-0-18)

นักศึกษาที่เลือกเรียนแผนการศึกษา ข ต้องจัดทารายงานการค้นคว้าอิสระในขอบเขตสาขาวิชาที่ตนศึกษา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษากากับดูแล และต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสอบที่ได้รับการแต่งตั้ง

หลักสูตรประกาศนียบัตร utcc cyber law

หลักสูตรประกาศนียบัตร UTCC Cyber Law สำหรับผู้ที่ไม่มีวุฒินิติศาตรบัณฑิต

หลักสูตรที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปและข้าราชการตำรวจ มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ สามารถมาเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือรับชมการบรรยายย้อนหลังทาง Webex

เรียน 5 วิชาตลอดหลักสูตร

สนใจสมัครเรียนได้ที่ Click

ค่าใช้จ่ายหลักสูตร

70,000 บาท ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรและรายวิชา

ตลอดหลักสูตรเรียนทั้งหมด 5 วิชา วิชาละ 15 ครั้ง

  1. กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไซเบอร์
  2. กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  3. กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  4. กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  5. สัมมนากฎหมายธุรกิจยุคใหม่ (Cyber Law)

คำอธิบายรายวิชา

LW512

สัมมนากฎหมายธุรกิจยุคใหม่ (Cyber Law)

การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาและปัญหาในทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจที่สาคัญ และทันต่อยุคสมัย เพื่อเสนอประเด็นปัญหาและแลกเปลี่ยนความเห็น

LW521

กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขั้นสูง (Advanced Securities and Securities Exchange Law)

รูปแบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดาเนินงานและการกากับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

LW534

กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering Law)

แนวคิดของอาชญากรรมทางการเงิน ลักษณะและรูปแบบของการฟอกเงิน หลักกฎหมายและการกากับดูแลขององค์กรกากับดูแลที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรทางการเงินทั้งในประเทศและเชิงเปรียบเทียบต่างประเทศ หน้าที่ของสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภาระหน้าที่ของสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

LW548

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไซเบอร์ (Computer and Cyber Laws)

ศึกษาทฤษฎี หลักกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับนิติกรรมทางแพ่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชยกรรมและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งในส่วนของประเทศไทย ต่างประเทศ และในระดับระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะที่เป็นวัตถุประสงค์ในการกากับดูแล ความท้าทายใหม่ๆที่อินเทอร์เน็ตนามาซึ่งการตีความใหม่หรือการพิจารณาใหม่ซึ่งเนื้อหาและวิธีการบังคับใช้กฎหมายและการกากับดูแลของภาครัฐในหลากหลายประเด็น รวมถึงแนวความคิดในกฎหมายว่าด้วยดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

LW551

กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Data Privacy Law)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยและในระดับนานาชาติ อาทิ กฎหมาย General Data Protection Regulation ของสหภาพยุโรป และกรอบกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีศึกษาจากทั่วโลกในเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หรือคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมาย 7 วิชา

หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมาย 7 วิชา UTCC Cyber Law สำหรับผู้ที่ไม่มีวุฒินิติศาตรบัณฑิต

หลักสูตรที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนเฉพาะบางรายวิชา สามารถเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือรับชมการบรรยายย้อนหลังทาง Webex

เลือกเรียนได้มากกว่า 1 วิชา

สนใจสมัครเรียนได้ที่ Click

ค่าใช้จ่ายหลักสูตร

14,000 บาท ต่อวิชา

หลักสูตรและรายวิชา

รายวิชาในหลักสูตร 7 วิชา (เลือกเรียนได้มากกว่า 1 วิชา)

  1. กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไซเบอร์
  2. การระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  3. กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  4. กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  5. กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  6. สัมมนากฎหมายธุรกิจยุคใหม่ (Cyber Law)
  7. กฎหมายองค์กรธุรกิจขั้นสูง

คำอธิบายรายวิชา

LW512

สัมมนากฎหมายธุรกิจยุคใหม่ (Cyber Law)

การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาและปัญหาในทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจที่สาคัญ และทันต่อยุคสมัย เพื่อเสนอประเด็นปัญหาและแลกเปลี่ยนความเห็น

LW521

กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขั้นสูง (Advanced Securities and Securities Exchange Law)

รูปแบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดาเนินงานและการกากับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

LW524

การระงับข้อพิพาททางเลือกเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

รูปแบบและวิธีการระงับข้อพิพาทในรูปแบบต่างๆ การประนีประนอมยอมความ การไกล่เกลี่ย อนุญาโตตุลาการ โดยศึกษาเกี่ยวกับ กฎหมาย และข้อตกลงในระดับระหว่างประเทศ เช่น New York Convention, UNCITRAL Model Law, ICSID Convention รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท ศึกษาทฤษฎี รูปแบบ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท

LW534

กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering Law)

แนวคิดของอาชญากรรมทางการเงิน ลักษณะและรูปแบบของการฟอกเงิน หลักกฎหมายและการกากับดูแลขององค์กรกากับดูแลที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรทางการเงินทั้งในประเทศและเชิงเปรียบเทียบต่างประเทศ หน้าที่ของสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภาระหน้าที่ของสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

LW548

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไซเบอร์ (Computer and Cyber Laws)

ศึกษาทฤษฎี หลักกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับนิติกรรมทางแพ่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชยกรรมและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งในส่วนของประเทศไทย ต่างประเทศ และในระดับระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะที่เป็นวัตถุประสงค์ในการกากับดูแล ความท้าทายใหม่ๆที่อินเทอร์เน็ตนามาซึ่งการตีความใหม่หรือการพิจารณาใหม่ซึ่งเนื้อหาและวิธีการบังคับใช้กฎหมายและการกากับดูแลของภาครัฐในหลากหลายประเด็น รวมถึงแนวความคิดในกฎหมายว่าด้วยดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

LW551

กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Data Privacy Law)

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยและในระดับนานาชาติ อาทิ กฎหมาย General Data Protection Regulation ของสหภาพยุโรป และกรอบกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีศึกษาจากทั่วโลกในเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หรือคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

LW538

กฎหมายองค์กรธุรกิจขั้นสูง

แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายว่าด้วยองค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจที่ถูกกากับดูแลในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การกากับดูแลบริษัทจดทะเบียน หลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการ การควบรวมกิจการข้ามชาติ โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างกิจการที่ทาการควบรวมและกิจการที่ถูกควบรวม ในเรื่องหุ้นส่วน อานาจบริหาร การจ้างงาน และภาษีในมิติของกฎหมายเศรษฐกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น