หนังสือ

กฎหมายครอบครัวของคู่ชีวิต

การใช้ชีวิตครอบครัวของบุคคลต่างเพศเป็นเรื่องที่กฎหมายของประเทศต่าง บัญญัติเป็นกฎหมายครอบครัวมาเป็นเวลายาวนานแล้ว กฎหมายดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางศาสนาเนื่องจากทั้งกฎหมาย
ครอบครัวและศาสนาเป็นเรื่องที่กําหนดแนวทางและวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ผูกพันร่วมกันเป็นครอบครัว ดังนั้นในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามซึ่งมีแนวคิดทางศาสนาที่เห็นว่าการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของบุคคลเพศเดียวกันเป็นเรื่องต้องห้าม จึงไม่ยินยอมให้มีกฎหมายครอบครัวสําหรับบุคคลเพศเดียวกันด้วย สิทธิในการใช้ชีวิตเป็นครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกันจึงเป็นเรื่องต้องห้ามทั้งทางศาสนา กฎหมาย และสังคม จนกระทั่งสิทธิมนุษยชนมีการพัฒนาและยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์มากขึ้น ประเทศต่าง จึงมีการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในการมีครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกันเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการออกกฎหมายให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิจดทะเบียนคู่ชีวิต (
Civil Union/Civil Partnership) และพัฒนาไปสู่การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน (Samesex Marriage)
ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งแม้ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธที่ไม่มีข้อห้ามการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของบุคคลเพศเดียวกันหรือมีแนวคิดว่าเป็นเรื่องผิดบาป แต่ก็มีประชากรบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามด้วยเช่นกัน สิทธิของบุคคลเพศเดียวกันในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ถูกรับรองทางกฎหมายด้ว ต่อมาเมื่อมีข้อเรียกร้องสิทธิจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงมีการจัดทําร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. . ขึ้น ซึ่งขณะนี้ (ตุลาคม ๒๕๖๔) ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. . เกือบทั้งหมดนํามาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ครอบครัว โดยปรับให้เข้ากับการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลเพศเดียวกัน การตรากฎหมาย การบังคับใช้และการตีความกฎหมายจึงสามารถใช้กฎหมายครอบครัวเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาได้ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเชื่อว่าจะไม่มีการปรับแก้ร่างกฎหมายดังกล่าวในกระบวนการทางรัฐสภามากนัก และน่าจะเป็นเรื่องดีหากผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์ และอธิบายร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด เพราะจะช่วยให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนสภาพปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้สนใจทั่วไป
จากการพิจารณาของผู้เขียนเห็นว่า นอกจากการที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลรัษฎากร เป็นต้น ซึ่งมีการจัดทําควบคู่ไปกับการตราร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. . แล้ว ยังมีประเด็นปัญหาอื่นที่ควรได้รับการพิจารณาจากฝ่ายนิติบัญญัติอีกหลายประการ ที่สําคัญคือ เรื่องการหมั้น การจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลต่างเพศ การเรียกค่าทดแทนเมื่อมีการฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต และเรื่องบุตรบุญธรรม ผู้เขียนจึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะอํานวยประโยชน์แก่ฝ่ายนิติบัญญัติและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้หากผู้อ่านมีข้อเสนอแนะประการใดโปรดแจ้งให้ผู้เขียนทราบ จักขอบพระคุณยิ่ง และหากมีข้อผิดพลาดประการใดในหนังสือ ผู้เขียนกราบขออภัยมา ณ ที่นี่


รองศาสตราจารย์ ณัชพงษ์ สําราญ